วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการที่ต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการ
แข่งขันกับตัวเอง
หลายคนก่อนจะออกกำลังมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกายอาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป
เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียด
โรคที่มากับคนที่ไม่ออกกำลังกาย
กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจขาดเลือด
โรคอ้วน
โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง
โรคเครียด
โรคภูมิแพ้
โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
โรคมะเร็ง
การเริ่มต้นออกกำลังกาย
หลายท่านไม่เคยออกกำลังมาก่อนเมื่อเริ่มออกกำลังอาจจะทำให้เหนื่อยง่ายวิธีดีที่สุดของการเริ่มต้นออกกำลังกาย คือให้เริ่มออกกำลังกายจากกิจวัตรประจำวันเช่น
ใช้การเดินหรือขี่จักรยานเมื่อไปที่ไม่ไกล
หยุดใช้รถหนึ่งวันแล้วใช้การเดินไปทำงานสำหรับผู้ที่บ้านและที่ทำงานไม่ไกล
ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อน
ขี่จักรยานรอบหมู่บ้าน
ทำงานบ้าน เช่นทำสวน ล้างรถ ถูบ้าน
ทำกิจวัตรเหล่านั้นทุกวันเป็นเวลา 2-3 เดือน หลังจากเพิ่มกิจกรรมได้พักหนึ่งจึงเริ่มต้นเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เช่น
เดินให้เร็วขึ้นสลับกับเดินช้า
ขี่จักรยานนานขึ้น
ขึ้นบันไดหลายชั้นขึ้น
ขุดดิน ทำสวนนานขึ้น
ว่ายน้ำ
เต้น aerobic แต่ไม่ต้องมาก
เต้นรำ
เล่นกีฬา เช่น แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง
หลังจากที่เตรียมความพร้อมร่างกายแล้วเรามาเริ่มต้น ฟิตร่างกายกัน
หลังจากเตรียมความพร้อมแล้ว คุณได้ออกกำลังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแล้วหากคุณต้องการฟิตร่างกายก็สามารถทำได้โดย
โดยการวิ่งเร็วขึ้น นานขึ้น
ว่ายน้ำนานขึ้น
การฟิตร่างกาย คุณต้องติดตามความก้าวหน้าของการออกกำลังกายเช่น เวลาที่ใช้ในการออกกำลังเพิ่มขึ้น ระยะทางในการออกกำลังเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นได้ดี รายละเอียดของการออกกำลังกายคลิกที่นี่
เทคนิคของการออกกำลังกายเป็นประจำ
จะต้องตระหนักว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตซึ่งจะขาดไม่ได้เหมือนการนอนหลับ หรือการรับประทานอาหาร
เลือกการออกกำลังกายที่ชอบที่สุด และสะดวกที่สุด
ครอบครัวอาจจะมีส่วนร่วมด้วยก็จะดี
ช่วงแรกๆของการออกกำลังกายไม่ควรจะหยุด ให้ออกจนเป็นนิสัย
บันทึกการออกกกำลังกายไว้
หาเป็นไปได้ควรจะมีกลุ่มเพื่อออกกำลังกายร่วมกันเพราะกลุ่มจะช่วยกันประคับประคอง
ตั้งเป้าหมายการออกกำลังและการรับประทานทุกเดือนโดยอย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป
ติดตามความก้าวหน้าโดยดูจากสมุดบันทึก
ให้รังวัลเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมาย(ห้ามการเลี้ยงอาหาร)
ที่สำคัญการออกกำำลังแม้เพียงเล็กน้อยดีกว่าการไม่ออกกำลังกาย
ออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
ถ้าหากท่านได้เตรียมความพร้อมที่จะออกกำลังกายแล้วอยากจะฟิตร่างกายท่านสามารถทำได้ทันที แต่หากมีอาการหรือโรคต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฟิตร่างกาย
ถ้าท่านอายุมากกว่า 45ปี
หรือมีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่
หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยมาก
มีอาการหน้ามืด
จำเป็นต้องอุ่นร่างกายหรือไม่ Warm up
ก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาจำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายทุกครั้งเพื่อเตรียมความพร้อมของหัวใจ และหลังจากการออกกำลังควรจะอบอุ่นร่างกายอีกครั้ง รายละเอียดดูได้จากการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ความฟิตคืออะไร Physical fittness
ความฟิตไม่ได้หมายถึงว่าคุณสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าใด หรือยกน้ำหนักได้เท่าใด แต่ ความฟิตหมายถึงประสิทธิภาพของหัวใจ ปอดและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปถ้าหากออกกำลังกายได้อย่างน้อยวันละ 30 นาทีโดยออกหนักปานกลาง สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วันถือว่าได้ออกกำลังแบบ aerobic exercise รายละเอียดมีในออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ความฟิตของร่างกายต้องประกอบด้วยปัจจัย 5 อย่าง
Cardiorepiratory endurance หมายถึงความสามารถของหัวใจที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างเพียงพอในขณะที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบ areobic จะเป็นการฝึกให้หัวใจแข็งแรง
Muscular strength ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเราสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยการยกน้ำหนัก หรือวิ่งขึ้นบันได
Muscular enduranceความทนของกล้ามเนื้อหมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า
สัดส่วนของร่างกาย หมายถึงสัดส่วนของกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน การออกกกำลังจะทำให้มีปริมาณกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณไขมันจะลดลง อาจจะดูได้จากดัชนีมวลกาย
Flexibility ความยืดหยุดของกล้ามเนื้อ เอ็น เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหรือข้อได้รับอุบัติเหตจากการออกกำลังกาย อ่านและฟังที่นี่
ขณะป่วยควรออกกำลังกายหรือไม่
ขณะที่เจ็บป่วยไม่ควรออกกำลังกายเพราะจะทำให้โรคเป็นมากขึ้นควรจะพักจนอาการดีขึ้น แต่ถ้าท่านเป็นโรคเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์ในการออกกำลังกาย
จริงหรือไม่ที่การออกกำลังกายโดยการเดินดีพอๆกับการวิ่ง
การเริ่มต้นออกกำลังควรใช้วิธีเดินเนื่องจากจะไม่เหนื่อยมาก ยังลดน้ำหนักได้และอาการปวดข้อไม่มาก ส่วนการวิ่งจะเป็นการออกกำลังที่คุณเตรียมร่างกายไวพร้อมแล้วเพราะการวิ่งจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้เหนื่อย และทำให้ปวดข้อ ดังนั้นการออกกำลังโดยการเดินเหมาะสำหรับคนอ้วน หรือผู้ที่เริ่มออกกำลังกายแต่ถ้าผู้ที่ต้องการความฟิตของร่างกายควรออกกำลังโดยการวิ่ง
คนท้องควรออกกำลังหรือไม่
คนท้องควรออกกำลังกายเป็นประจำแต่ออกกำลังแบบเบาๆโดยการเดิน ไม่ควรวิ่ง ไม่ควรยกของหนัก รายละเอียดอ่านได้จากการออกกำลังในคนท้อง
จะรู้ได้อย่างไรว่าออกกำลังกายมากเกินไป
ท่านสามารถสังเกตขณะออกกำลังกายว่ามากไปหรือไม่โดยสังเกตจากอาการดังต่อไปนี้
หัวใจเต้นเร็วมากจนรู้สึกเหนื่อย
หายใจเหนื่อยจนพูดไม่เป็นประโยค
เหนื่อยจนเป็นลม
ไม่มีอาการปวดข้อหลังออกกำลังกาย
หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดการออกกำลังสองวันและเวลาออกกำลังให้ลดระดับการออกกำลังกาย
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
ผลต่อโรคความดันโลหิตสูง(140/90)
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 35%
การออกกกำลังอย่างสท่ำเสมอจะลดทั้งความดัน systole และ diastole อย่างชัดเจน
คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเสี่ียงชีวิตจากโรคแทรกซ้อน น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง
การออกกำลังจะช่วยเพิ่มอายุ 1-1.5ปี
ผลต่อโรคเส้นเลือดสมอง
อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงเมื่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
เมื่อขึ้นบันไดวันละ 20 ขั้นจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงร้อยละ 20
ผู้ที่ออกกกำลังกายโดยการเดินเร็วๆสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงจะมีอุบัติการของโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงร้อยละ 40
ผลต่อโรคเบาหวาน
ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 42
ผู้ออกกกำลังมากจนกระทั่งเหงื่อออก 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีอุบัติการของการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 22
ผลต่อหัวใจ
ผู้ที่ไม่ออกกำำลังกายจะมีโอกาศเสียชีวิตเป็นสองเท่าของผู้ที่ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น
การออกกำลังกายจะทำให้หัวใจสะสมพลังงานไว้ใช้เมื่อเวลาหัวใจต้องทำงานหนัก
เพิ่มความแข็งแรงในการบีบตัวของหัวใจ
ลดระดับไขมันในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ดี)
ลดระดับความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานน้อยลง
ผลต่อมะเร็ง
การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 46
ผลต่อคุณภาพชีวิต
การออกกำลังกาย 1500 กิโลแครอรีต่อสัปดาห์(ออกกำลังกายหนักปานกลาง)จะเพิ่มอายุ 1.57 ปีและลดอุบัติการการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงร้อยลง 67
สำหรับผู้สูงอายุทุก 1 ไมล์ที่เดินจะลดอุบัติการเสียชีวิตลงร้อยละ 19
การออกกกำลังอย่างสม่ำเสมอ(อายุ 45-84)จะลดการเสียชีวิตร้อยละ 18
การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ การออกกำลังในโรคเบาหวาน

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการที่ต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการ
แข่งขันกับตัวเอง
หลายคนก่อนจะออกกำลังมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกายอาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป
เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียด
โรคที่มากับคนที่ไม่ออกกำลังกาย
กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจขาดเลือด
โรคอ้วน
โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง
โรคเครียด
โรคภูมิแพ้
โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
โรคมะเร็ง
การเริ่มต้นออกกำลังกาย
หลายท่านไม่เคยออกกำลังมาก่อนเมื่อเริ่มออกกำลังอาจจะทำให้เหนื่อยง่ายวิธีดีที่สุดของการเริ่มต้นออกกำลังกาย คือให้เริ่มออกกำลังกายจากกิจวัตรประจำวันเช่น
ใช้การเดินหรือขี่จักรยานเมื่อไปที่ไม่ไกล
หยุดใช้รถหนึ่งวันแล้วใช้การเดินไปทำงานสำหรับผู้ที่บ้านและที่ทำงานไม่ไกล
ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อน
ขี่จักรยานรอบหมู่บ้าน
ทำงานบ้าน เช่นทำสวน ล้างรถ ถูบ้าน
ทำกิจวัตรเหล่านั้นทุกวันเป็นเวลา 2-3 เดือน หลังจากเพิ่มกิจกรรมได้พักหนึ่งจึงเริ่มต้นเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เช่น
เดินให้เร็วขึ้นสลับกับเดินช้า
ขี่จักรยานนานขึ้น
ขึ้นบันไดหลายชั้นขึ้น
ขุดดิน ทำสวนนานขึ้น
ว่ายน้ำ
เต้น aerobic แต่ไม่ต้องมาก
เต้นรำ
เล่นกีฬา เช่น แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง
หลังจากที่เตรียมความพร้อมร่างกายแล้วเรามาเริ่มต้น ฟิตร่างกายกัน
หลังจากเตรียมความพร้อมแล้ว คุณได้ออกกำลังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแล้วหากคุณต้องการฟิตร่างกายก็สามารถทำได้โดย
โดยการวิ่งเร็วขึ้น นานขึ้น
ว่ายน้ำนานขึ้น
การฟิตร่างกาย คุณต้องติดตามความก้าวหน้าของการออกกำลังกายเช่น เวลาที่ใช้ในการออกกำลังเพิ่มขึ้น ระยะทางในการออกกำลังเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นได้ดี รายละเอียดของการออกกำลังกายคลิกที่นี่
เทคนิคของการออกกำลังกายเป็นประจำ
จะต้องตระหนักว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตซึ่งจะขาดไม่ได้เหมือนการนอนหลับ หรือการรับประทานอาหาร
เลือกการออกกำลังกายที่ชอบที่สุด และสะดวกที่สุด
ครอบครัวอาจจะมีส่วนร่วมด้วยก็จะดี
ช่วงแรกๆของการออกกำลังกายไม่ควรจะหยุด ให้ออกจนเป็นนิสัย
บันทึกการออกกกำลังกายไว้
หาเป็นไปได้ควรจะมีกลุ่มเพื่อออกกำลังกายร่วมกันเพราะกลุ่มจะช่วยกันประคับประคอง
ตั้งเป้าหมายการออกกำลังและการรับประทานทุกเดือนโดยอย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป
ติดตามความก้าวหน้าโดยดูจากสมุดบันทึก
ให้รังวัลเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมาย(ห้ามการเลี้ยงอาหาร)
ที่สำคัญการออกกำำลังแม้เพียงเล็กน้อยดีกว่าการไม่ออกกำลังกาย
ออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
ถ้าหากท่านได้เตรียมความพร้อมที่จะออกกำลังกายแล้วอยากจะฟิตร่างกายท่านสามารถทำได้ทันที แต่หากมีอาการหรือโรคต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฟิตร่างกาย
ถ้าท่านอายุมากกว่า 45ปี
หรือมีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่
หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยมาก
มีอาการหน้ามืด
จำเป็นต้องอุ่นร่างกายหรือไม่ Warm up
ก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาจำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายทุกครั้งเพื่อเตรียมความพร้อมของหัวใจ และหลังจากการออกกำลังควรจะอบอุ่นร่างกายอีกครั้ง รายละเอียดดูได้จากการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ความฟิตคืออะไร Physical fittness
ความฟิตไม่ได้หมายถึงว่าคุณสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าใด หรือยกน้ำหนักได้เท่าใด แต่ ความฟิตหมายถึงประสิทธิภาพของหัวใจ ปอดและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปถ้าหากออกกำลังกายได้อย่างน้อยวันละ 30 นาทีโดยออกหนักปานกลาง สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วันถือว่าได้ออกกำลังแบบ aerobic exercise รายละเอียดมีในออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ความฟิตของร่างกายต้องประกอบด้วยปัจจัย 5 อย่าง
Cardiorepiratory endurance หมายถึงความสามารถของหัวใจที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างเพียงพอในขณะที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบ areobic จะเป็นการฝึกให้หัวใจแข็งแรง
Muscular strength ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเราสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยการยกน้ำหนัก หรือวิ่งขึ้นบันได
Muscular enduranceความทนของกล้ามเนื้อหมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า
สัดส่วนของร่างกาย หมายถึงสัดส่วนของกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน การออกกกำลังจะทำให้มีปริมาณกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณไขมันจะลดลง อาจจะดูได้จากดัชนีมวลกาย
Flexibility ความยืดหยุดของกล้ามเนื้อ เอ็น เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหรือข้อได้รับอุบัติเหตจากการออกกำลังกาย อ่านและฟังที่นี่
ขณะป่วยควรออกกำลังกายหรือไม่
ขณะที่เจ็บป่วยไม่ควรออกกำลังกายเพราะจะทำให้โรคเป็นมากขึ้นควรจะพักจนอาการดีขึ้น แต่ถ้าท่านเป็นโรคเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์ในการออกกำลังกาย
จริงหรือไม่ที่การออกกำลังกายโดยการเดินดีพอๆกับการวิ่ง
การเริ่มต้นออกกำลังควรใช้วิธีเดินเนื่องจากจะไม่เหนื่อยมาก ยังลดน้ำหนักได้และอาการปวดข้อไม่มาก ส่วนการวิ่งจะเป็นการออกกำลังที่คุณเตรียมร่างกายไวพร้อมแล้วเพราะการวิ่งจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้เหนื่อย และทำให้ปวดข้อ ดังนั้นการออกกำลังโดยการเดินเหมาะสำหรับคนอ้วน หรือผู้ที่เริ่มออกกำลังกายแต่ถ้าผู้ที่ต้องการความฟิตของร่างกายควรออกกำลังโดยการวิ่ง
คนท้องควรออกกำลังหรือไม่
คนท้องควรออกกำลังกายเป็นประจำแต่ออกกำลังแบบเบาๆโดยการเดิน ไม่ควรวิ่ง ไม่ควรยกของหนัก รายละเอียดอ่านได้จากการออกกำลังในคนท้อง
จะรู้ได้อย่างไรว่าออกกำลังกายมากเกินไป
ท่านสามารถสังเกตขณะออกกำลังกายว่ามากไปหรือไม่โดยสังเกตจากอาการดังต่อไปนี้
หัวใจเต้นเร็วมากจนรู้สึกเหนื่อย
หายใจเหนื่อยจนพูดไม่เป็นประโยค
เหนื่อยจนเป็นลม
ไม่มีอาการปวดข้อหลังออกกำลังกาย
หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดการออกกำลังสองวันและเวลาออกกำลังให้ลดระดับการออกกำลังกาย
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
ผลต่อโรคความดันโลหิตสูง(140/90)
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 35%
การออกกกำลังอย่างสท่ำเสมอจะลดทั้งความดัน systole และ diastole อย่างชัดเจน
คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเสี่ียงชีวิตจากโรคแทรกซ้อน น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง
การออกกำลังจะช่วยเพิ่มอายุ 1-1.5ปี
ผลต่อโรคเส้นเลือดสมอง
อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงเมื่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
เมื่อขึ้นบันไดวันละ 20 ขั้นจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงร้อยละ 20
ผู้ที่ออกกกำลังกายโดยการเดินเร็วๆสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงจะมีอุบัติการของโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงร้อยละ 40
ผลต่อโรคเบาหวาน
ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 42
ผู้ออกกกำลังมากจนกระทั่งเหงื่อออก 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีอุบัติการของการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 22
ผลต่อหัวใจ
ผู้ที่ไม่ออกกำำลังกายจะมีโอกาศเสียชีวิตเป็นสองเท่าของผู้ที่ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น
การออกกำลังกายจะทำให้หัวใจสะสมพลังงานไว้ใช้เมื่อเวลาหัวใจต้องทำงานหนัก
เพิ่มความแข็งแรงในการบีบตัวของหัวใจ
ลดระดับไขมันในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ดี)
ลดระดับความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานน้อยลง
ผลต่อมะเร็ง
การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 46
ผลต่อคุณภาพชีวิต
การออกกำลังกาย 1500 กิโลแครอรีต่อสัปดาห์(ออกกำลังกายหนักปานกลาง)จะเพิ่มอายุ 1.57 ปีและลดอุบัติการการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงร้อยลง 67
สำหรับผู้สูงอายุทุก 1 ไมล์ที่เดินจะลดอุบัติการเสียชีวิตลงร้อยละ 19
การออกกกำลังอย่างสม่ำเสมอ(อายุ 45-84)จะลดการเสียชีวิตร้อยละ 18
การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ การออกกำลังในโรคเบาหวาน

การรับประทาอาหาร

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี และไม่อ้วน!
การควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน โดยการอดอาหารไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องมากนัก เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย อ่อนแอ ภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคลดลง และไม่มีผลดีต่อร่างกายในระยะยาวคำแนะนำง่ายๆ ในการควบคุมน้ำหนัก มีหลักการดังนี้รับประทานไขมันให้น้อยลง ประมาณน้อยกว่า 40-50 กรัมต่อวัน ซึ่งจะทำให้แคลอรี่ลดลง เป็นการลดน้ำหนักที่ดี และลดผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมันลดปริมาณแคลอรี่ต่อวัน ให้เหลือ 600 แคลอรี่ ร่วมกับการเปลี่ยนพฤติกรรมทีละน้อยๆ และง่ายๆเป็นสิ่งสำคัญกว่ารับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ โดยรับประทานเป็นมื้อเล็กๆ พร้อมบันทึกน้ำหนักเป็นเวลา เปรียบเทียบไว้เตือนใจตนเองหลักการเรียนรู้การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5หมวดโดยเรียงจากกลุ่มที่ควรรับประทานให้น้อยสุด ไปมากสุด ดังนี้หมวดไขมัน ของหวานและเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ เป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานและไขมันสูง ที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม และมีสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อย จึงควรจำกัดอาหารประเภทนี้ให้น้อยที่สุดหมวดเนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ เป็นแหล่งของโปรตีน วิตามินเอ บี1 บี 6 บี12 วิตามินดี วิตามินเค ธาตุเหล็ก ไนอะซิน สังกะสี และฟอสฟอรับ ที่เสริมสร้างส่วนที่สึกหรอและการเจริญเติบโตของเซลล์ โดยจำกัดในปริมาณที่ต่ำ และเลือกที่มีไขมันต่ำหมวดผัก เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่หมวดผลไม้ เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ บี6 วิตามินซี กรดโฟลิค โพแตสเซียม เส้นใยอาหาร ในแต่ละวันเราควรเลือกรับประทานผักผลไม้ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 5 ส่วน โดยเลือกผลไม้ที่มีสีเหลือง หรือสีส้มจัด ซึ่งเป็นแหล่งอาหารวันละ 1 อย่าง ผักใบเขียวจัดวันละ 1 อย่าง เลือกผลไม้ที่มีวิตามินซี เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง แคนตาลูป ส่วนที่เหลือ จะเลือกผักผลไม้ ชนิดใดก็ได้หมวดข้าว แป้ง และเมล็ดธัญพืช เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยอาหาร เป็นหมวดที่ต้องรับประทานมากที่สุด เพราะเป็นแหล่งให้พลังงานแก่ชีวิตประจำวัน

การเลือกซื้อผัก

ผักกระเฉด ต้องเลือกยอดใหญ่ อวบ และนมสีขาว
ผักกาดหอม ควรเลือกใบบางๆ สีเขียวอ่อน ไม่มีรอยหนอนกัด
ผักคะน้า เลือกลำต้นอวบใหญ่ และอ่อน ใบหนานสมบูรณ์ ไม่มีรอยแมลงหรือหนอนกัดกิน ใบสีเขียวแก่
กะหล่ำปลี ดูผิวเปลือกนอกเรียบร้อย สะอาด และกลม ใบที่ห่ออยู่ผิวนอกไม่ควรเกิน 4 ใบ หากลำต้นสีขาวมีแต้มหรือริ้วรอยเส้นดำแสดงว่าภายในกะหล่ำปลีเริ่มเน่าแล้ว
ผักปวยเล้ง ใบสีเขียวจัดหนาแวว มีน้ำหนัก โคนต้นสีแดงอ้วนใหญ่
หัวผักกาดขาว เปลือกนอกละเอียดนุ่ม สีขาว หัวใหญ่เล็กเท่ากันตลอด
หัวผักกาดแดง หัวใหญ่ปลายเรียวอย่างถูกสัดส่วน มีน้ำอิ่ม ไม่มีรอยหนอนเจาะ เนื้อต้องแข็งกรอบ
มันฝรั่ง ผิวเปลือกต้องเกลี้ยงและแวว ไม่เป็นรูลึก และไม่มีตาที่กำลังแตกหน่อ
หน่อไม้ เลือกหน่อไม้ที่มีโคนสีขาว มีความชื้นสูง เส้นใยไม่แก่ ละเอียดใช้เล็บแคะดูที่โคน ถ้านิ่มก็แปลว่าอ่อน
แตงกวา ควรเลือกลูกที่กลมสม่ำเสมือตั้งแต่หัวจรดท้าย ผิวไม่ย่น สีขาวหรือเขียว เนื้อแน่นมีน้ำ
ถั่วแขก ถั่วแขกที่ดีเปลือกผิวนอกต้องเขียวและกรอบไม่มีรูหนอนกัดกิน ภายนอกสม่ำเสมอทั้งฝัก ไม่มีเมล็ดปูดนูนขึ้นมา
มะเขือยาว เลือกผิวนอกสะอาดลื่นเป็นมัน ไม่มีรอยแต้มด่างสีน้ำตาลหรือดำ ไม่เหี่ยวย่น สีเขียวอ่อนหรือม่วงแก่ (แล้วแต่ชนิด) กลีบเลี้ยงที่ขั้วแนบชิดสนิทกับมะเขือแสดงว่าอ่อน