วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การเล่นฟุตบอล

การเคลื่อนไหวในกีฬาฟุตบอลเป็นไปได้หลายรูปแบบ เช่น การทุ่มลูกบอล การหยุดลูกบอล การเลี้ยงลูกบอล การโหม่งลูกบอล และการเตะลูกบอลในท่าต่าง ๆ เป็นต้น พลังกล้ามเนื้อเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากประการหนึ่งของกีฬาฟุตบอล ที่จะทำให้การเคลื่อนไหวในการเล่นฟุตบอลมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวเกือบทุกอย่างของร่างกายในการเล่นฟุตบอล ต้องการพลังกล้ามเนื้อเพื่อต่อสู้กับแรงต้านทาน กล่าวคือ นักกีฬาฟุตบอลจำเป็นต้องมีพลังงานกล้ามเนื้อขาที่ดี ในการเตะสกัดลูกบอลได้ไกลและวิ่งเข้าแย่งยิงประตูได้อย่างรวดเร็ว และอีกประการที่สำคัญ กีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาประเภทที่เล่นติดต่อกันเป็นเวลานานแต่มีลักษณะไม่สม่ำเสมอ การทำงานของกล้ามเนื้อจะเป็นแบบผสม คือ บางครั้งต้องใช้ความอดทนและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น การวิ่งขึ้น-ลงตลอดระยะเวลา 90 วินาที และบางครั้งต้องใช้พลังกล้ามเนื้อ เช่น การเร่งฝีเท้าเต็มที่เพื่อเข้าแย่งลูกบอลหรือการวิ่งแข่งยิงประตูในระยะใกล้ พลังกล้ามเนื้อยังมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ทันที คือ เมื่อกล้ามเนื้อมีพลังมากก็จะสามารถเคลื่อนไหวได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จึงสามารถเคลื่อนไหวได้ซ้ำ ๆ และบ่อยกว่า และยังพบว่าพลังกล้ามเนื้อ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความคล่องแคล่วของร่างกาย เพราะเมื่อเกล้ามเนื้อมีพลังเพียงพอในการควบคุมน้ำหนักของร่างกายต่อต้านแรงเฉื่อย จะทำให้ร่างกายส่วนต่าง ๆ เคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น นอกจากนั้น พลังกล้ามเนื้อยังเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความเร็ว [พลัง (Power) เท่ากับ แรง (Force) คูณด้วยความเร็ว (Velocity)] เพราะต้องการแรงมากเพื่อเร่งร่างกายให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง (ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และกันยา ปาละวิวัธน์. 2536 : 262-263) ในปัจจุบันผู้ฝึกกีฬาชั้นนำของโลกได้นำการฝึกด้วยน้ำหนัก (Weight Training) กับการฝึกแบบพลังโอเมตริก (Plyometric Training) มาฝึกพร้อม ๆ กันในการฝึกคราวเดียวกัน ซึ่งในยุโรปเรียกว่า การฝึกแบบผสมผสาน (Complex Training) ซึ่งเป็นการฝึกเพื่อเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้อ (Muscular Power) โดยใช้การฝึกกล้ามเนื้อด้วยน้ำหนัก (Weight Training) แล้วตามด้วยการฝึกแบบพลัยโอเมตริก (Plyometric Training) ทันทีในแต่ละชุด ซึ่งใช้ท่าฝึกที่ใช้กลุ่มกล้ามเนื้อเดียวกัน เช่น การฝึกด้วยน้ำหนักท่าเลก เพรส (Leg Press) จำนวน 5 ครั้ง แล้วตามด้วยการฝึกแบบพลัยโอเมตริกท่าริม จั๊มพ์ (Rim Jump) จำนวน 5 ครั้ง แล้วพัก 3 - 5 นาที ซึ่งเป็นการฝึกที่รวมเอาความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็วเข้าไว้ด้วยกัน และยังเป็นการพัฒนาให้เกิดพลังระเบิด (Explosive Power) จัดเป็นแนวทางการฝึกที่มีประสิทธิภาพและเป็นการกระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular System) รวมทั้งสร้างความหลากหลายในการฝึกซ้อมให้กับนักกีฬา (Chu. 1992 : 23-24) ดังนั้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาความสนใจที่จะศึกษาผลการฝึกแบบผสมผสาน (Complex Training) ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อ ว่ามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำผลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการฝึกซ้อมและการพัฒนากีฬาฟุตบอล ซึ่งอาจนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนากีฬาอื่น ๆ ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป แนวคิดทฤษฎี - 1.การฝึกด้วยชั่งหนัก (Weight Training) 2.การฝึกแบบพลัยโอเมตริก (Plyometric Training) 3.การฝึกแบบผสมผสาน (Complex Training) 4.การเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้อ วัตถุประสงค์ - 1.เพื่อทราบผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ 2.เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อ ในระยะเวลาที่ต่างกัน สมมุติฐานการวิจัย - กลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ และกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน มีผลต่อพลังกล้ามเนื้อแตกต่างกัน ระเบียบวิธีวิจัย - วิจัยเชิงทดลอง ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักกีฬาฟุตบอลชายที่อยู่ในชมรมกีฬาฟุตบอลและกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2544 จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักกีฬาฟุตบอลชายที่อยู่ในชมรมกีฬาฟุตบอลและกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2544 จำนวน 20 คน แบ่ง กลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ จำนวน 10 คน และกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน จำนวน 10 คน ตัวแปร - นิยามศัพท์ - การฝึกด้วยน้ำหนัก (Weight Training) หมายถึง การฝึกเพื่อเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้อ โดยการใช้น้ำหนักเป็นแรงต้นทาน เช่น ดัมเบลล์ (Dumbbell)d บาร์เบลล์ (Barbell) และอุปกรณ์แบบสถานี (Stationary Machine) เป็นต้น การฝึกแบบพลัยโอเมตริก (Plyometric Training) หมายถึง การฝึกกล้ามเนื้อเพื่อเชื่อมโยงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดพลังกล้ามเนื้อ เช่น การกระโดดแบบต่าง ๆ (Jumping) เป็นต้น การฝึกแบบผสมผสาน (Complex Training) หมายถึง การฝึกเพื่อเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้อ โดยใช้การฝึกกล้ามเนื้อด้วยน้ำหนักแล้วตามด้วยการฝึกแบบพลัยโอเมตริกในแต่ละชุด ซึ่งใช้ท่าฝึกที่ใช้กลุ่มกล้ามเนื้อเดียวกัน เช่น การฝึกด้วยน้ำหนักท่าเลกเพรส (Leg-Press) แล้วตามด้วยการฝึกแบบพลัยโอเมตริกท่าริม จั๊มพ์ (Rim Jump) เป็นต้น พลังกล้ามเนื้อ (Muscular Power) หมายถึง ความสามารถในการหดตัวหรือออกแรงในการทำงานของกล้ามเนื้อเพียงหนึ่งครั้งในการปล่อยแรง (Force)d ออกมาอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาที่สั้นที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสาน เครื่องมือวัดพลังกล้ามเนื้อ วิธีการรวบรวมข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - 1. คำนวณค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของ พลังกล้ามเนื้อของกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ และกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสานในระยะเวลาที่ต่างกัน 2. เปรียบเทียบผลของพลังกล้ามเนื้อระหว่างกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ และกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน ในระยะเวลาที่ต่างกัน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองตัวแปรต่อหนึ่งตัวแปรแบบวัดซ้ำ (Two-face Experiment with Repeated Measures on One Ractor) 3. เปรียบเทียบผลของพลังกล้ามเนื้อระหว่างกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ และกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน ในระยะเวลาที่ต่างกัน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) 4. เปรียบเทียบผลของพลังกล้ามเนื้อของกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ ใน ระยะเวลาที่ต่างกัน และกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน ในระยะเวลาที่ต่างกัน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนหนึ่งตัวแปรแบบวัดซ้ำ (One-Factor Experiment with Repeated with Repeated Measures) (Ferguson and Takane. 1989 : 350-351) 5. ภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน หากพบค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการ ทดสอบค่าความแตกต่างรายคู่ของการฝึกในระยะเวลาที่ต่างกันของแต่ละกลุ่ม โดยวิธีของตูกี (Tukey) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 สรุปผลวิจัย - 1. พลังกล้ามเนื้อระหว่างกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ และกลุ่มที่ฝึกการเล่น กีฬาฟุตบอลและเสริมการฝึกแบบผสมผสาน ก่อนการฝึก, หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 10 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.1 พลังกล้ามเนื้อระหว่างกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติและกลุ่มที่ฝึกการ เล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 1.2 พลังกล้ามเนื้อระหว่างกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ และกลุ่มที่ฝึกการ เล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.3 พลังกล้ามเนื้อระหว่างกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ และกลุ่มที่ฝึกการ เล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 10 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. พลังกล้ามเนื้อของกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลตามปกติ ก่อนการฝึก, หลังการฝึก สัปดาห์ที่ 4, 8 และ 10 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พลังกล้ามเนื้อกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสมผสาน ก่อนการฝึก, หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 10 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระยะเวลาในการฝึกมีอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน 3.1 พลังกล้ามเนื้อของกลุ่มที่ฝึกการเล่นกีฬาฟุตบอลและเสริมด้วยการฝึกแบบผสม ผสาน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 และ 10 แตกต่างกับก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ- ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ในการศึกษาผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อพลังกล้ามเนื้อนั้น ควรศึกษาปัจจัย ทางด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) และความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วย เนื่องจากการเพิ่มพลังกล้ามเนื้อ (Muscular Power) สามารถทำได้โดยการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ เพราะพลัง เท่ากับแรง (Force) คูณด้วยความเร็ว (Velocity) จะสามารถช่วยอธิบายผลของการศึกษาพลังกล้ามเนื้อที่เกิดจากการฝึกแบบผสมผสาน ได้ว่าพลังกล้ามเนื้อเกิดจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ หรืออาจจะเป็นผลมาจากทั้งสองอย่างร่วมกันได้ถูกต้องและชัดเจนขึ้น 2. ควรเปรียบเทียบผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อกับนักกีฬาประเภท อื่น ๆ 3. ควรเปรียบเทียบผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อก่อนการฝึกซ้อมกีฬา ตามปกติกับหลังการฝึกซ้อมกีฬาตามปกติ
ประโยชน์ของการเล่นกีฬาฟุตบอล1. เป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหาอย่างฉับพลันได้ดี2. ช่วยทำให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขั้น เช่น ระบบกล้ามเนื้อระบบการหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบไหลเวียนโลหิตดีขั้น3.ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมกิจกรรมที่รวมการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของมนุษย์เกือบทุกชนิด เช่น การวิ่งหลบหลีก หลอกล่อ การแย่ง การรับ การส่ง การกระโดด การเตะ ตลอดจนการใช้เท้าให้สัมพันธ์กับสายตาด้วย4. ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีกฏ กติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฏ กติกาการแข่งขัน ดังนั้นการเล่นฟุตบอล ช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม ปฏิบัติตนให้อยู่ในขอบเขตอันพึงควรกระทำ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้รู้จักการเคารพสิทธิของผู้อื่น มีความอดกลั้น อดทน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น5. ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้เกิดความรักใคร่สามัคคีในหมู่คณะ6. สำหรับผู้เล่นฟุตบอลที่ดีย่อมมีโอกาสได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของชาติ ยังเป็นหนทางที่ทำให้คนรู้จัก อันเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกทางหนึ่งด้วย7. ปัจจุบันผู้เล่นมีความสามารถสูงยังมีสิทธิได้เข้าศึกษาต่อระดับสูงบางสาขา
งานและกำลังใจในชีวิต ของ ร.ต.ท.เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (ทูตกีฬา) และ อัสราภา วุฒเวทย์src='http://www.sakulthai.com/images/sakulthai/2472/4.jpg'>คงไม่บ่อยนักที่ผู้อ่านสกุลไทยจะได้เห็นภาพนักกีฬาหนุ่มขึ้นแผ่นปกคู่กับภรรยาสาว “นักเตะลูกหนัง” ชั้นแนวหน้าของเมืองไทย สังกัดสโมสรราชประชา กับท่าตีลังกากลางสนามฟุตบอล เป็นภาพที่เจนตามากสำหรับ “แฟนบอล” ชาวไทย เพราะทุกครั้งที่เขายิงประตูให้แก่ทีมชาติไทยได้สำเร็จ เขามักจะออกท่าตีลังกาท่ามกลางความดีใจและเสียงปรบมือของ “แฟนบอล” ที่มานั่งลุ้นชมการแข่งขันเสมอๆ “นักเตะ” ผู้นี้จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หรือฉายา “ซิโก้” (ZICO) “จอมตีลังกา” ผู้คว้ารางวัล... - เหรียญทองซีเกมส์สี่สมัย - ดาวซัลโว กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ปี 2542 - นักกีฬายอดเยี่ยม ESPN ปี 2543 - นักฟุตบอลยอดเยี่ยม ESPN ปี 2543 - นักเตะทรงคุณค่า (MVP) Tiger Cup ปี 2543 - นักเตะดีเด่น Sanyo ปี 2544 และดาราเอเซีย ปี 2544 จากสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเซีย ในฐานะที่เป็นนักฟุตบอลอาชีพผู้ยิงประตูได้มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ขณะที่นั่งสนทนาอยู่กับเรา “ซิโก้” เพิ่งสมรสกับอัสราภา วุฒิเวทย์ ผู้จัดการส่วนตัวของเขา และกำหนดเล่นฟุตบอลให้แก่สโมสรฮองอันยาลาย (Hong Anh Gia Lai) ประเทศเวียดนาม เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ หลังจากที่สิ้นสุดสัญญากับสโมสรอาร์มฟรอสของประเทศสิงคโปร์หมาดๆ แต่ก่อนหน้านั้น เขามีโอกาสก้าวไปถึงการเล่นฟุตบอลอาชีพในแดนลูกหนังยุโรป โดยร่วมทีมกับสโมสรฮัดเดอร์ฟิลทาวน์ ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 1 ปี และเคยเล่นให้แก่สโมสรเปอลิส ประเทศมาเลเซีย ไม่แปลกที่ชื่อของ “ซิโก้” นักฟุตบอลทีมชาติไทย มิเคยห่างหายไปจากวงการกีฬา นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ อันเป็นปีที่ ร.ต.ท.เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง มีโอกาสติดทีมชาติครั้งแรก หากได้ฟังเขาเล่าว่า “ตอนสมัยเด็กใฝ่ฝันแค่อยากติดทีมชาติสักครั้งเดียว ครั้งเดียวก็พอ แต่พอมาถึงวันนี้ ผมเล่นฟุตบอลอาชีพมา ๑๐ ปีแล้ว เพราะฉะนั้นคงต้องพิสูจน์ตัวเองอีกระดับหนึ่ง ผมยังอยากจะเล่นบอลอาชีพ ผมจะต้องใฝ่หาความฝันต่อไปอีก ที่เคยคิดว่าแค่นี้พอแล้ว แต่คนเราทุกคนความต้องการไม่พอหรอก ผมยังอยากจะเดินทางต่อไปอีก” เพราะฉะนั้น เป้าหมายการเล่นฟุตบอลร่วมทีมกับฮองอันยาลายในประเทศเวียดนาม จึงคือคำตอบแห่งการเดินทางไปข้างหน้าอย่างชัดเจนของ “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ “ผมคงจะลุยไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังมีเรี่ยวแรงอยู่ การไปเล่นที่เวียดนาม ผมก็จะทำหน้าที่ให้ดี ถึงแม้ว่ามาตรฐานการเล่นฟุตบอลของเวียดนามยังสู้ประเทศไทยไม่ได้ สมัยก่อนตอนแข่งซีเกมส์ ทีมไทยชนะเวียดนามตลอด แต่ทุกครั้งที่เราพบกับเขา เราก็รู้สึกค่อนข้างหนักตลอดเหมือนกัน ทำให้คิดว่าถ้าไปเล่นร่วมกับเขา คงมีอะไรดีๆ เกิดขึ้น เพราะผมเองก็ต้องการหาความท้าทายใหม่ๆ และได้ยินมาว่าขณะนี้ชาวเวียดนามเขากำลังคลั่งไคล้กีฬาฟุตบอลมาก ผู้ที่ติดต่อมาเขาบอกว่าเขาอยากให้ผมไปเล่นที่นั่น เพราะหลายครั้งที่ไทยแข่งบอลกับเวียดนาม ผมเป็นคนยิงประตูให้ทีมชาติเวียดนามแพ้ตลอด เขาจึงอยากเห็นภาพซิโก้ยิงประตูและตีลังกา ช่วงแรกเขาให้เราเซ็นสัญญา ๔ เดือนก่อน เพราะว่าช่วงนี้ที่เวียดนามเขาปิดการแข่งขันฟุตบอลครึ่งฤดูกาลแล้ว ถ้าเราสามารถปรับตัวและโชว์ฟอร์มได้ดี ในฤดูกาลหน้าเราอาจจะได้เซ็นสัญญากับเขาต่อ” ทว่าสิ่งที่เหนือจากนั้น ไม่ใช่ชัยชนะ ไม่ใช่การบรรลุความฝันของชายหนุ่มเพียงฝ่ายเดียวแล้วในวันนี้ แต่เขาอยากเป็นแบบอย่างให้แก่น้องๆ เยาวชนไทยผู้มีความชื่นชอบและมีความฝันใฝ่ในกีฬาฟุตบอลเฉกเช่นเดียวกับเขาได้รู้ว่า “การเล่นฟุตบอลสมัยนี้ ไม่เหมือนสมัยก่อน เล่นกีฬาทุกวันนี้ ไม่ใช่ไส้แห้ง ถ้าเรามีความตั้งใจจริง มีความมุ่งมั่น เราก็สามารถสร้างอาชีพจากการเล่นฟุตบอลได้ สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้แก่ครอบครัว ขอเพียงแต่ให้มีความพยายามและความอดทน” โครงการ “ฟุตบอลเพื่อน้อง” จึงจัดตั้งขึ้นโดยทุนส่วนตัวขั้นต้นของ ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง และเงินสนับสนุนจากสินค้าเสื้อผ้าชุดกีฬาในนาม “แพน”(PAN) “ตอนอยู่ที่ฮัดเดอร์ฟิลทาวน์ ประเทศอังกฤษ เมื่อสองปีที่แล้ว ผมคิดอยู่ตลอดเวลาว่าถ้าเรามีโอกาสทำอะไรอีกสักอย่างหนึ่ง เราอยากจะให้โอกาสเด็ก เพราะสมัยก่อนตอนที่เราเป็นเด็กต่างจังหวัด กว่าจะมีฟุตบอลเตะสักลูก กว่าจะมีรองเท้าเตะฟุตบอลสักคู่ มันลำบากมาก ผมจำได้ว่าครั้งแรกที่พ่อซื้อลูกฟุตบอลมาให้ผมเล่น ผมเอาไปนอนกอดด้วยเลย แต่พอวันนี้เรามีโอกาสแล้ว เราก็อยากจะเหลียวกลับไปมองเด็กๆ ที่ครั้งหนึ่งเราเคยเป็นเหมือนเขา ผมอยากจะนำอุปกรณ์การกีฬาไปแจกให้แก่เด็กชนบท จึงคิดโครงการ “ฟุตบอลเพื่อน้อง” ขึ้นมา และได้ทำหนังสือชื่อ “ล้านกำลังใจ... ให้ใครคนหนึ่ง” ใช้งบประมาณไปสามแสนกว่าบาท โดยเอาเงินส่วนตัวของผมและเงินสนับสนุนอีกส่วนหนึ่งจากผลิตภัณฑ์แพน มาลงทุนจัดพิมพ์แล้ววางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วประเทศเพื่อนำรายได้ทั้งหมดเข้าโครงการ “ฟุตบอลเพื่อน้อง” และยังนำรายได้บางส่วนไปจัดการแข่งขันฟุตบอลซิโก้คัพที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผมเอง สร้างบรรยากาศการแข่งขันกีฬาฟุตบอล เปิดโอกาสให้เด็กๆ ระดับชั้นประถมและมัธยมจัดทีมมาประลองฝีมือกัน โรงเรียนไหนที่ชนะการแข่งขัน ก็ได้รับทุนการศึกษาหนึ่งแสนสองหมื่นบาท นอกจากนี้ ยังมีการประกวดกองเชียร์ด้วย ถือว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จพอสมควรครับ ทางอำเภอน้ำพองเขาก็เตรียมงานดีมาก มีพิธีเปิด-พิธีปิดการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ แต่ละโรงเรียนที่เข้าแข่งขันให้ความสำคัญกับโครงการนี้มาก ผมให้สัญญากับเขาด้วยว่าถ้าในระยะห้าปีนี้ ทุกอย่างมีการพัฒนาขึ้น เราจะไปจัดให้เขาอีก เพื่อสานฝันของเด็กให้เป็นจริง ลึกๆ แล้ว ผมก็รู้สึกอิจฉาแกมดีใจว่าเมื่อก่อนเราไม่มีอะไรเลย แต่มาวันนี้ เราเอาสิ่งเหล่านั้นไปให้เขา อยากให้น้องๆ ได้นำไปคิด และก้าวไปให้ถึงสิ่งที่มุ่งหวัง ให้ดีกว่าผมทุกวันนี้” ไม่เพียงเท่านั้น นามของ ร.ต.ท.เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง นักกีฬาฟุตบอลไทย ผู้สั่งสมชื่อเสียง ประสบการณ์ และมีความหนักแน่นในการเล่นฟุตบอลอาชีพมาตลอดสิบปี จึงทำให้ได้รับเกียรติเป็น “ทูตกีฬา” ด้วยความสนับสนุนส่งเสริมของผลิตภัณฑ์ชุดกีฬา “ไนกี้” (NIKE) ซึ่งมีสัญญาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๗ ไนกี้เขาอยากให้ผมไปพบกับเด็กๆ ซึ่งเขาจัดโครงการฟุตบอล “ไนกี้ พรีเมียร์ ลีก” ให้แก่เด็กๆ ที่คลองเตย เขาจึงให้ผมเป็นทูตกีฬาไนกี้ และเซ็นสัญญาเป็นพรีเซ็นเตอร์ด้วย ครั้งแรกๆ เขาให้ผมร่วมกิจกรรมกีฬาฟุตบอลกับเด็กและเยาวชนในประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ แต่ตอนนี้ได้มาคุยกันใหม่แล้วว่า เราจะต้องเซ็นสัญญาเหมือนกับนักกีฬาฟุตบอลยุโรปเลย คือเป็นทูตกีฬาเดินทางไปทั่วโลก แล้วแต่ว่าเขาจะวางโปรเจ็คท์ให้เราไปร่วมกิจกรรมที่ไหนอย่างไร” คำว่า “ทูตกีฬา” นั้น ก็หมายถึง ผู้เป็นตัวแทนนำการกีฬาลงไปสู่เด็กและเยาวชนในสังคม เพื่อสร้างสรรค์ชีวิตคนรุ่นใหม่ให้มีความสุข สนุกกับการเล่นกีฬา และเพื่อสร้างความเป็นเลิศให้แก่วงการกีฬาในอนาคตต่อไป “ซิโก้” เปิดเผยความรู้สึกภายในใจที่ได้รับเลือกให้เป็น “ทูตกีฬา” ว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติสำหรับตัวเอง เพราะเคยคิดว่าเวลาที่เราเลิกเล่นบอลแล้ว เราจะทำอย่างไรให้เด็กๆ ของเรามีโอกาสเล่นฟุตบอลก้าวสู่ระดับโลกได้ ตัวผมเองก็ยังไม่เคยไปสัมผัสกับฟุตบอลโลกเลย ยังไม่เคยไปสัมผัสกับกีฬาโอลิมปิก ผมจึงอยากเห็นเด็กของเรา ประสบความสำเร็จในการเล่นฟุตบอลอาชีพ ซึ่งเราจะทำอย่างไร ระหว่างตัวผมกับไนกี้ เราจะต้องช่วยกันอย่างไร เพื่อพยายามพัฒนาเด็กของเราให้ทัดเทียมนานาประเทศ” ตลอดหลายปีที่ผ่านไป นักฟุตบอลหนุ่มผู้นี้จึงใช้เวลาหนึ่งเดือนในช่วงปิดฤดูกาลการแข่งขันในแต่ละปี สละเวลาไปร่วมทำกิจกรรมสนับสนุนการเล่นกีฬาฟุตบอลแก่เยาวชนในชุมชนต่างๆ ของสังคมไทย “ผมอยากเห็นเด็กไทยของเราก้าวไปสู่แนวหน้า อยากมีส่วนให้โอกาส ให้ชีวิต ให้เขาได้พิสูจน์ตัวเอง การสอนบอลเด็กหรือการให้คำแนะนำแก่เด็ก เพื่อจะให้เขาเก่งเลย เป็นไปได้ยาก แต่เราต้องให้โอกาสเขาก่อน ทุกวันนี้นักเตะของเมืองไทยยังขาดแคลนอยู่ ทั้งที่ทั่วประเทศเรามีการเล่นฟุตบอลกันเยอะ แต่ยังไม่ได้รับโอกาสให้พัฒนาตัวเอง และยังไม่มีโอกาสได้ติดทีมชาติ อย่างประเทศญี่ปุ่นเขาจะวางแผนในการเล่นฟุตบอลและการพัฒนาการเล่นให้แก่เด็กอย่างต่อเนื่อง กระทั่งก้าวมาถึงการติดทีมชาติชุดใหญ่ ส่วนบ้านเรา ผู้เล่นยังน้อยอยู่ ผมอยากเห็นทีมชาติไทยได้ลงสนามบอลโลกสักครั้ง ถึงแม้ว่าตัวเองอาจจะไม่มีโอกาสได้ไป แต่ก็อยากเห็นน้องๆ ที่เราปลุกปั้นมา ไปบอลโลก” เมื่อคนคนหนึ่งเดินทางมาถึงจุดหนึ่งในชีวิต ซึ่งใครหลายคนอาจเฝ้ามองดูว่านั่นเป็นจุดสูงสุดที่มิใช่ทุกคนจะสามารถเหยียบย่างขึ้นไปได้โดยง่าย ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง อาจจะเป็นบุคคลในจำนวนน้อยที่กล้าเดินตามความฝันและไขว่คว้าดวงดาวมาครอบครองจนสำเร็จ แต่ตัวเขาเองกลับบอกว่า “กว่าจะเป็นซิโก้อย่างทุกวันนี้ กว่าที่จะมายืนอยู่ตรงแถวหน้าของวงการฟุตบอลเมืองไทยได้ ผมต้องออกจากบ้าน มาอยู่กรุงเทพฯ อยู่ที่วัด อยู่ที่โรงเรียน กว่าจะสะสมประสบการณ์ สะสมความสามารถสิบปี และยังอีกหลายๆ ปีต่อไป มันไม่ใช่เรื่องง่าย เรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ก็ไม่ใช่สบาย ลำบากมามาก กว่าจะมายืนตรงจุดนี้ ต้องพูดว่ามันไม่ง่ายเลย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผมมายืนอยู่ตรงนี้ได้ ก็เพราะความพยายามและความอดทน” หากว่าความฝันนั้นคือเรื่องจริง ความล้มเหลว ความท้อแท้ ย่อมไม่มีทางเกิดขึ้น แต่ในโลกแห่งความจริงที่ไม่เคยทำให้ใครได้ทุกอย่างดังใจหวัง หัวใจของมนุษย์ในบางครั้งจึงต้องพานพบกับความผิดหวัง พ่ายแพ้ เพื่อที่จะได้รับสิ่งอันทรงคุณค่าตอบแทนกลับมาในภายหลัง นั่นคือกำลังใจของใครสักคน ซึ่งอาจจะสูงค่ามากกว่าชัยชนะทั้งหมดที่เคยมี ประสบการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับนักฟุตบอลดาราเอเชียอย่าง “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ มาแล้วเช่นกัน “ช่วงที่ผมอยู่ที่ฮัดเดอร์ฟิล ประเทศอังกฤษ ไม่มีความสุขเลย เราพบกับปัญหารอบด้าน แทบทำให้ผมเลิกเล่นบอลไปเลย ช่วงนั้นรู้สึกว่าขาดกำลังใจมากๆ หมดความหวังที่จะพิสูจน์ให้แฟนบอลชาวไทยเห็นว่าผมประสบความสำเร็จในการเล่นฟุตบอลกับสโมสรฮัดเดอร์ฟิลทาวน์” แต่สิ่งที่ทำให้นักฟุตบอลหนุ่มผู้นี้ ลุกขึ้นมาต่อสู้และตั้งหลักใหม่ได้ ก็คือ คุณเปิ้ล- อัสราภา (วุฒิเวทย์) เสนาเมือง ซึ่งเดินทางไปร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันตลอดหนึ่งปีเต็มที่อังกฤษ “ตั้งแต่แรกเปิ้ลตั้งใจจะไปส่งผม แล้วบินกลับ แต่พอเธอได้ไปเห็นปัญหาของผม เธอกลับเป็นห่วง และอยู่ต่อ ร่วมลุยด้วยกัน ช่วยเหลือกัน หนึ่งปีที่อยู่ที่นั่น มีแต่ปัญหา มีแต่สิ่งที่เราต้องช่วยกันแก้ไข เพราะว่าเปิ้ลเธอเก่งเรื่องภาษามาก เธอช่วยประสานงานให้ผม พิจารณาเรื่องสัญญาต่างๆ ของผม เป็นล่ามให้ผมกับโค้ชและผู้จัดการทีม เปิ้ลช่วยทำให้เรื่องทุกอย่างง่ายขึ้น มันเหมือนกับว่าเราเดินไปด้วยกัน เราช่วยกัน หลายๆ ครั้งเราฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ ทุกอย่างจึงออกมาดี ผมคิดว่าเปิ้ลมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ผมกลับมามีกำลังใจที่จะเล่นฟุตบอลต่อไป เวลาที่อยู่ในสนาม ผมไม่ได้นึกถึงใครหรอก เพราะคิดแต่ว่าทำอย่างไรจึงจะยิงประตูได้ แต่ตอนอยู่นอกสนาม เปิ้ลเธอมีส่วนช่วยผมมาก เธอยังปลอบใจผมว่า เราไม่ได้สู้คนเดียว ยังมีอีกหลายคนที่เขากำลังสู้อยู่กับเรา เรามาอยู่ที่นี่ เราอาจจะมาอย่างราชสีห์ หรือว่าจะกลับไปอย่างสุนัข แต่ก็ไม่มีใครอยากเห็นผมล้มเหลวหรอก บางช่วงที่ผมเครียดและกดดันมากๆ เปิ้ลก็บอกว่าอย่าไปเครียดเลย เพราะฟุตบอลคือกีฬา กีฬาย่อมมีแพ้ มีชนะ ผมทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว” นอกจาก กำลังใจจากคนสำคัญ ชายหนุ่มเล่าอีกว่า ผมได้รับคำปลอบใจที่แฟนบอลชาวไทยส่งไปให้ด้วย ทั้งแฟ็กซ์ จดหมาย การ์ด เยอะมากครับ ทำให้ผมยืนหยัดต่อสู้อยู่ที่ฮัดเดอร์ฟิลได้ แต่ในขณะที่เรากำลังรู้สึกหมดหวังกับทุกอย่าง ผมจึงรวบรวมคำคม คำกลอนต่างๆ ที่แฟนบอลชาวไทยแสดงน้ำใจส่งไปให้ผม จัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า “ล้านกำลังใจ...ให้ใครคนหนึ่ง” เพื่อจำหน่ายหารายได้เข้าโครงการ “ฟุตบอลเพื่อน้อง” ผมคิดว่าถ้ามีใครคนอื่นเป็นเหมือนกับผมในตอนนั้น ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้ มีความหวังที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ เพราะช่วงที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในชีวิต ทุกคนสามารถอยู่อย่างสบาย แต่เมื่อเกิดปัญหา ผมอยากให้ทุกคนมีกำลังใจ สามารถเผชิญกับอุปสรรค มีชีวิตที่ยืนหยัดต่อไปได้ “ ฝ่ายคุณเปิ้ล - อัสราภา ภรรยาของนักเตะหนุ่มก็ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าตอนนี้เธอไม่ได้เป็นผู้จัดการส่วนตัวให้แก่สามีแล้ว นอกจากงานหลักที่ยังช่วยดูแลอย่างจริงจัง คือเรื่องของสัญญาการเล่นกีฬาฟุตบอลกับสโมสรต่างประเทศ และสัญญาด้านสื่อโฆษณา นอกจากนี้ สิ่งที่เธอต้องดูแลเป็นพิเศษอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การจัดเตรียมอาหารเสริม วิตามิน อุปกรณ์รักษาสุขภาพ เพื่อให้ “ซิโก้” นำติดไปรับประทานและใช้ประโยชน์เวลาที่ต้องเล่นฟุตบอลอยู่ต่างประเทศ ส่วนเรื่องภายในบ้าน เธอจะดูแลให้ดีที่สุด เนื่องจากว่าเธอติดภารกิจหน้าที่ช่วยงานครอบครัว ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการให้การแนะแนวด้านการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่างประเทศแก่นักเรียนไทย จึงไม่สามารถติดตามสามีไปด้วยได้ แต่ถ้าหากช่วงใดที่หน้าที่การงานของเธอเบาบางลง เธอก็จะเดินทางไปให้กำลังใจแก่เขาอย่างใกล้ชิดที่ประเทศเวียดนาม ดังนั้น การไปอยู่ต่างประเทศของอีกฝ่ายคงมิใช่ปัญหาที่ทำให้เธอและเขาห่างไกลกัน อย่างไรก็ตาม ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ยังเปิดเผยว่าการเล่นฟุตบอลคืออาชีพของเขา เขารักที่จะทำงานในอาชีพนี้ต่อไปเรื่อยๆ พร้อมกับมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น แต่คงบอกไม่ได้ว่าอายุสักเท่าไหร่ เขาจึงจะเลิกเล่นกีฬาฟุตบอล เพราะเหตุผลเพียงสอง

1 ความคิดเห็น: